วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อุณหภูมิที่สูงขึ้นบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของอากาศ

     อุณหภูมิที่สูงขึ้นบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงอากาศ

             ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2404 อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report – TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC) จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปี

                               
                                 รูปที่ 1 ความผันแปลของอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในรอบ 100 ปี
                                        และในซีกโลกเหนือรอบ 1,000 ปี (IPCC, 2001)
           แบบจำลองสภาพภูมิอากาศมีการคาดการณ์กันว่าหากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังเป็นเช่นปัจจุบัน อุณหภูมิโลกเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 องศาเซลเซียส ในปีพ.ศ. 2643 (เนื่องจากผลจากแบบจำลองยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง ค่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นจึงคาดว่าอยู่ในระหว่าง 1 ถึง 3.5 องศาเซลเซียส) การคาดการณ์นี้คำนึงถึงผลของก๊าซแอโรโซลและผลของความเฉื่อยของมหาสมุทรเอาไว้แล้ว ผลของความเฉื่อยจากมหาสมุทรหมายความว่าพื้นผิวโลกและบรรยากาศระดับล่างจะยังคงร้อนต่อไปประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส ถึงแม้ว่าปริมาณการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกจะหยุดลงในปี พ.ศ. 2643 ดังนั้น ถึงแม้จะมีการลดการปล่อยก๊าซลงและระดับก๊าซในบรรยากาศจะไม่เพิ่มขึ้นก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้น ผลกระทบที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น อาจเกิดขึ้นนานกว่าที่เราคาดเดาได้
           ข้อมูลตรวจวัดจากสถานีอุตุนิยมวิทยาทั่วประเทศ บ่งชี้ว่าอุณหภูมิในประเทศไทยในรอบ 55 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2498-2552) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ระดับความเชื่อมั่นมากกว่า 99% หรือ ค่า p<0.001) โดยค่าเฉลี่ยรายปีของอุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิเฉลี่ย และอุณหภูมิต่ำสุด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 0.86 0.95 และ 1.45 องศาเซลเซียส ตามลำดับ (รูปที่ 2) ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของไทย (0.95 องศาเซลเซียส) มีอัตราที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก (0.69 องศาเซลเซียส)(รูปที่ 3)
                        temp2
                  รูปที่ 2 ค่าแตกต่างจากค่าเฉลี่ยในช่วง ค.ศ.1961-1990 (พ.ศ. 2504-2533)                                      ของ a) อุณหภูมิสูงสุด )b) อุณหภูมิเฉลี่ย และ (c) อุณหภูมิต่ำสุด เส้นสีแดงและน้ำเงิน                       แสดงแนวโน้มเชิงเส้นตรงและค่าเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่ในคาบเวลา 5 ปี ตามลำดับ(อัศมน 2554)

                       
                 รูปที่ 3 เปรียบเทียบค่าแตกต่างจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิโลก (เส้นสีน้ำเงิน) และประเทศไทย (เส้นสีแดง)ในช่วงค.ศ.1961-1990 (พ.ศ. 2504-2533)(อัศมน 2554)

ที่มา: http://www.greenintrend.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น