สรุปสภาวะอากาศของประเทศไทย พ.ศ.2558
พ.ศ.2558 เป็นปีที่ประเทศไทยมีฝนน้อยและต่่ากว่าค่าปกติเกือบทุกเดือนโดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคมและ
มิถุนายน มีเพียงเดือนมกราคม กรกฎาคมและกันยายนที่มีปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ ซึ่งในเดือนดังกล่าวเป็นช่วงที่
ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกในช่วงฤดูหนาวต้นปีและจากร่องมรสุมและมรสุมตะวันตก
เฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ตลอดทั้งปีมีพายุหมุนเขตร้อนเพียง 1 ลูกที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย คือ พายุโซนร้อน
"หว่ามก๋อ" (VAMCO 1519) โดยเคลื่อนเข้าสู่อ่าเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อวันที่ 15 กันยายน ขณะมีก่าลัง
แรงเป็นพายุดีเปรสชัน โดยปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั้งประเทศต่่ากว่าค่าปกติประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์และต่่ากว่าปี
ที่ผ่านมา(พ.ศ.2557 ต่่ากว่าค่าปกติ 4 เปอร์เซ็นต์) ส่าหรับอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยสูงกว่าค่าปกติ0.8
องศาเซลเซียสและสูงกว่าปีที่ผ่านมา(พ.ศ.2557 สูงกว่าค่าปกติ 0.4 องศาเซลเซียส) หลายพื้นที่มีอุณหภูมิสูงสุดสูงกว่า
สถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้ โดยอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนสูงกว่าค่าปกติทุกเดือน โดยเฉพาะเดือนธันวาคมและพฤศจิกายน
สูงกว่าค่าปกติ 2.1 และ 1.9 องศาเซลเซียส ตามล่าดับ นอกจากนี้จากการติดตามสถานการณ์อุณหภูมิผิวน้่าทะเลใน
มหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรพบว่าเป็นปรากฏการณ์เอลนีโญก่าลังปานกลางตั้งแต่กลางปี และมีก่าลังแรงในช่วง
ปลายปี ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนต่่ากว่าค่าปกติและอุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติในช่วงต้นฤดูฝน ส่าหรับรายละเอียด
ต่างๆมีดังนี้
ในช่วงต้นปี (มกราคมและกุมภาพันธ์) ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับ
อิทธิพลจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมเกือบตลอดช่วงและแผ่เสริม
ลงมาปกคลุมเป็นระยะๆ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีก่าลังค่อนข้างแรง
ในช่วงเดือนมกราคม ท่าให้ประเทศไทยมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวในตอนเช้าส่วนมากในภาคเหนือและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ส่าหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีรายงานน้่าค้างแข็งบางพื้นที่
ในขณะที่ตอนกลางวันอุณหภูมิกลับสูงขึ้นมากจนมีอากาศร้อนบางพื้นที่เป็นบางวัน ส่งผลให้มีความแตกต่างของ
อุณหภูมิระหว่างวันมากโดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งมีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างวันมากที่สุดในปีนี้อย่างไร
ก็ตามอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ต่่ากว่าค่าปกติทุกภาค เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่ใกล้เคียงกับค่าปกติ
อุณหภูมิต่่าที่สุด 5.7 องศาเซลเซียส ที่กลุ่มงานอากาศเกษตรนครพนม จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 14 มกราคม
ซึ่งเป็นอุณหภูมิต่่าที่สุดของประเทศไทยในปีนี้ส่วนอุณหภูมิต่่าสุดบริเวณยอดดอย 3.0 องศาเซลเซียส ที่สถานีเกษตร
หลวงอ่างขาง อ่าเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ส่าหรับปริมาณฝนในช่วงเดือนมกราคมและ
กุมภาพันธ์บริเวณประเทศไทยตอนบนมีรายงานฝนตกในบางช่วง จากอิทธิพลของคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก โดยเฉพาะ
ในภาคเหนือและภาคกลาง อย่างไรก็ตามปริมาณฝนรวมทั้งเดือนมกราคมของประเทศไทยในปีนี้23.9 มิลลิเมตร สูงกว่าค่า
ปกติ 41 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ปริมาณฝนรวมทั้งเดือนต่่ากว่าค่าปกติทั้งประเทศ เว้นแต่ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่มีปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ
เมื่อเข้าสู่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ลมระดับล่างที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้
และลมฝ่ายใต้ ประกอบกับอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์เป็นต้นไปอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างชัดเจน และมี
อากาศร้อนในตอนกลางวันต่อเนื่องในหลายพื้นที่อีกทั้งอุณหภูมิในช่วงเช้าเริ่มสูงขึ้นโดยทั่วไปด้วย จึงถือว่าสิ้นสุดฤดูหนาว
และเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน จากนั้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมหย่อมความกดอากาศต่่าเนื่องจากความร้อนปกคลุม
ประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ ท่าให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ส่วนมากใน
บริเวณประเทศไทยตอนบนและมีบางพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงสุดท่าลายสถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้ อุณหภูมิสูงสุดวัดได้43.1
องศาเซลเซียส ที่อ่าเภอศรีส่าโรง จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 20 เมษายน ซึ่งเป็นอุณหภูมิสูงที่สุดของประเทศไทยในปีนี้
โดยอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงฤดูร้อนสูงกว่าค่าปกติทุกภาคโดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคมมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติในทุก
ภาคของประเทศประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนบริเวณความกดอากาศสูง
จากประเทศจีนยังคงแผ่ซึมเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆอีกทั้งมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศ
พม่าเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออก
เฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยเกือบตลอดช่วง ส่งผลให้มีรายงานฝน ฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกเป็นระยะๆ
ท่าให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีปริมาณฝนต่่ากว่าค่าปกติตลอดทั้งฤดู ปริมาณฝนมากที่สุดใน 24
ชั่วโมงในช่วงฤดูร้อนปี
นี้175.0 มิลลิเมตร ที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 24 เมษายน
สำหรับฝนในช่วงเดือนพฤษภาคมมีปริมาณน้อยและการกระจายของฝนไม่สม่่าเสมอ ฝนที่ตกส่วนใหญ่อยู่ในช่วง
กลางเดือนเป็นต้นไปซึ่งเป็นผลจากลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยในช่วงดังกล่าว
มีก่าลังแรงขึ้นในช่วงปลายเดือน โดยหลายพื้นที่มีฝนตกต่อเนื่องและเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ปริมาณฝน
รวมเดือนพฤษภาคมต่่ากว่าค่าปกติในเกือบทุกพื้นที่และปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศต่่ากว่าค่าปกติ 46 เปอร์เซ็นต์ซึ่งต่่าที่สุด
ในฤดูฝนปีนี้จากนั้นในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน แม้ว่ามรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศ
ไทยและอ่าวไทยมีก่าลังแรงเป็นระยะๆแต่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศพม่า ลาวและเวียดนามตอนบนเป็นส่วนใหญ่ มีเพียง
บางช่วงเท่านั้นที่เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ท่าให้พื้นที่ส่วน
ใหญ่ของประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ส่วนมากบริเวณประเทศไทยตอนบน
ต่อเนื่องไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคม โดยหลายพื้นที่มีอุณหภูมิสูงสุดท่าลายสถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้และบางพื้นที่มี
อุณหภูมิสูงสุดท่าลายสถิติเดิมมากกว่า 1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดในช่วงนี้วัดได้ 41.1 องศาเซลเซียส ที่อ่าเภอชัย
บาดาลจังหวัดลพบุรีเมื่อวันที่ 11 มิถุนายนและที่อ่าเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์เมื่อวันที่ 3และ 4 กรกฎาคมโดยเกือบ
ตลอดทั้งฤดูฝนมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติเกือบทุกภาคอย่างไรก็ตามมีบางช่วงที่ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นจากอิทธิพลของ
พายุหมุนเขตร้อนและหย่อมความกดอากาศต่่าที่เคลื่อนเข้ามาใกล้ ได้แก่พายุโซนร้อน“คูจิระ”(KUJIRA 1508)ที่เคลื่อนตัว
ผ่านเกาะไหหล่าและอ่าวตังเกี๋ยก่อนเคลื่อนขึ้นฝั่งและสลายตัวไปบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงปลายเดือน
มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่่าบริเวณประเทศเวียดนามและอ่าวตังเกี๋ยในช่วงเดือนกรกฎาคม และพายุโซนร้อน
"หว่ามก๋อ" (VAMCO 1519) ในช่วงกลางเดือนกันยายน ซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกเดียวในปีนี้ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย
บริเวณอ่าเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีขณะอ่อนก่าลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงเช้าของวันที่ 15 กันยายน ก่อนจะ
เคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์และบุรีรัมย์ แล้วอ่อนก่าลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่่าในช่วงบ่ายของวัน
เดียวกัน จากนั้นได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกระยะหนึ่งก่อนเคลื่อน
เข้าปกคลุมประเทศพม่าในช่วงเช้าของวันที่ 18 กันยายน อิทธิพลของ “หว่ามก๋อ” ท่าให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตก
หนาแน่นโดยเฉพาะภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ที่มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่และมีรายงานน้่าท่วมฉับพลัน
และน้่าป่าไหลหลากบางพื้นที่ในช่วงดังกล่าว โดยปริมาณฝนเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมและกันยายนสูงกว่าค่าปกติ 5
เปอร์เซ็นต์ และ 4 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ ส่าหรับปริมาณฝนมากที่สุดใน 24 ชั่วโมงในช่วงฤดูฝนปีนี้วัดได้ 300.3 มิลลิเมตร
ที่ อ่าเภอรัตนวาปีจังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมซึ่งเป็นปริมาณฝนสูงสุดของประเทศไทยในปีนี้เมื่อเข้าสู่เดือน
ตุลาคมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นและมีรายงานน้่าท่วมบางพื้นที่ในช่วงต้นเดือน ต่อจากนั้นมีฝนและ
อุณหภูมิลดลงโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปีนี้ประเทศไทยตอนบนได้สิ้นสุดฤดูฝนและเข้าสู่ฤดู
หนาวเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมโดยอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนตุลาคมสูงกว่าค่าปกติทุกภาค ส่วนปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศต่ำกว่า
ค่าปกติ
ในช่วงฤดูหนาวปลายปี(พฤศจิกายนถึงธันวาคม) ประเทศไทยมีอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก เนื่องจากบริเวณ
ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่แผ่ไปทางทะเลจีนใต้ ส่งผลให้
อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงนี้สูงกว่าค่าปกติในทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่อุณหภูมิ
เฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติมากกว่า 2 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ใน
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมากในช่วงต้นและกลางเดือนธันวาคม ส่าหรับบริเวณเทือกเขาและยอด
ดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่่าสุดในช่วงนี้ 11.1 องศาเซลเซียส ที่สถานีอากาศเกษตรนครพนม อ่าเภอเมือง
จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม อุณหภูมิยอดดอยต่่าสุด 3.6 องศาเซลเซียส ที่ยอดดอยอินทนนท์อ่าเภอ
จอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ส่าหรับฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนมีรายงานฝนเป็นระยะๆ จาก
อิทธิพลของคลื่นกระแสลมตะวันตกที่เคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนรวมถึงคลื่นกระแสลมตะวันออกที่เคลื่อนผ่าน
ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ท่าให้ปริมาณฝนเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงฤดูหนาว
ปลายปีส่วนใหญ่สูงกว่าค่าปกติส่าหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและ
ภาคใต้เกือบตลอดช่วง ประกอบกับในช่วงวันที่ 23-24 ธันวาคม หย่อมความกดอากาศต่่าก่าลังแรงที่ปกคลุมบริเวณ
ทะเลจีนใต้ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคใต้ตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ท่าให้มีฝนตกเกือบตลอดช่วง แต่ปริมาณฝนไม่
มากนัก ส่งผลให้ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือนของภาคใต้โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคต่่ากว่าค่าปกติ และปริมาณ
ฝนรวมเฉลี่ยทั้งประเทศในช่วงนี้ต่่ากว่าค่าปกติด้วย ปริมาณฝนมากที่สุดใน 24 ชั่วโมงในช่วงฤดูหนาวปลายปี วัดได้
200.9 มิลลิเมตร ที่อ่าเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน
******************************
หมายเหตุ : ข้อมูลฝน อุณหภูมิและภัยธรรมชาติเป็นรายงานเบื้องต้น
ศูนย์ภูมิอากาศ ส่านักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
5 ก.พ. 2559
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น