วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์


                                    

ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        
ระบบการโอนถ่ายข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทางโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ดาวเทียม ควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง

องค์ประกอบระบบสื่อสารข้อมูล
        1.ข่าวสาร  ( Message) เป็นข้อมูลรูปแบบต่างๆ
        2.ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล ( Sender)
       
3.สื่อหรือตัวกลาง ( Media) เป็นสื่อหรือช่องทาง ที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
        4.ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล ( Receiver)
       
5.กฎ ข้อตกลง ระเบียบวิธีการรับส่ง( protocol)

สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูล
  1.สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
        1.1 
สายคู่บิดเกลียว ( twisted pair) มี 2 ชนิด คือ
                    – 
สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม ( Unshielded Twisted Pair : UTP)
                    – 
สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม ( Shielded Twisted Pair : STP)
        1.2 
สายโคแอกเชียล ( Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะหรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน
        1.3 
สายใยแก้วนำแสง ( Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปแบบของแสง
  2.
สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
        2.1 
คลื่นไมโครเวฟ ( Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูงส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร
        2.2 
ดาวเทียม ( Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม
        2.3 
แอคเซสพอยต์ ( Access Point)

ความหมายเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        
ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ( Resources Sharing) หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
        2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
        3. สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง ( Centralized Management)
       
4. สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย ( Communication) ได้หลายรูปแบบ
        5. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย ( Network Security)

ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        1. 
เครือข่ายท้องถิ่น ( Local Area Network : LAN)
        2. 
เครือข่ายเมือง ( Metropolises Area Network :MAN)
        3. 
เครือข่ายระดับประเทศ ( Wide Area Network : WAN)
        4. 
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( Internet)

รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย : network topology
        1.การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส ( bus network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้
       2. 
การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน ( ring network) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
       3. 
การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว ( Star network) เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องไปยังฮับ ( hub) หรือ สวิตช์ ( switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน
       4. 
เครือข่ายแบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกัน

อุปกรณ์เครือข่าย
        1. ฮับ ( hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลังการรับส่งและไม่มีการใช้ซอฟแวร์ใด ๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งทำได้ง่าย
        2. โมเด็ม ( modem) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อก ( Analog signal)ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล ( Digital Signal)และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก
        3. การ์ด LAN ( Network Interface Card – NIC) เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN
       
4. สวิตช์ ( Switching) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่ายคล้ายHubแต่ต่างกันในเรื่องของกรทำงานและความเร็ว คือ แต่ละช่องสัญญาณ ( port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว
        5. เราท์เตอร์ ( router) เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายหลายเครือข่ายที่มีขนาดต่างกันหรือใช้มาตรฐานการส่งผ่านข้อมูล ( Transmission) ต่างกันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้

โปรโตคอล ( Protocol )
        โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลชนิดเดียวกันซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้เหมือนกับมนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกันในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันนั่นองค์กรที่เกี่ยวข้องได้กำหนดโปรโตคอลที่เรียกว่ามาตรฐานการจัดการระบบการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างระบบเปิด ( Open System International :OSI )

ชนิดของโปรโตคอล
       1.ทีซีพีหรือไอพี  ( TCP/IP)
       
2.เอฟทีพี  ( FTP)
       
3.เอชทีทีพี  ( HTTP)
       
4.เอสเอ็มทีพี  ( SMTP)
       
5.พีโอพีทรี ( POP3)

การถ่ายโอนข้อมูล
      1.การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน ( Parallel transmission)
        
ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ ไบต์ หรือ บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต
       
2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม ( Serial transmission)
        การถ่ายโอนข้อมูลแบบนุกรม อาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ แบบคือ
            1) 
สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
            2) 
สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
            3) 
สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ผลกระทบของอุณหภูมิที่สูงขึ้น

                      ผลกระทบ

              ไม่มีใครรู้ว่าโลกร้อนมากเพียงใดที่จะ "ปลอดภัย" แต่ที่เรารู้ก็คือ ภาวะโลกร้อนกำลังก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้คนและระบบนิเวศ ความจริงที่เราเห็นได้ก็คือ ธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย น้ำแข็งขั้วโลกสลาย ชั้นดินเยือกแข็ง (Permafrost) ที่อุ่นขึ้น ปะการังที่กำลังตาย ระดับน้ำทะเลที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ระบบนิเวศที่กำลังเปลี่ยนแปลง และ คลื่นความร้อนที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้ และไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่กำลังเป็นประจักษ์พยานของความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ตั้งแต่ชนเผ่าอินูท์ในทวีปอาร์กติกทางตอนเหนือสุด จนถึงชาวเกาะใกล้เส้นศูนย์สูตร ผู้คนกำลังดิ้นรนเพราะผลกระทบจากภาวะโลกร้อนแต่ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น เรากำลังประสบกับภาวะโลกร้อนที่อันตรายแล้ว และเราต้องลงมือกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนอันเป็นหายนะ ในขณะที่ยังไม่ทราบถึงผลกระทบทั้งหมดในระดับภูมิภาค ผลกระทบต่อไปนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นหากเรายังปล่อยให้สภาพในปัจจุบันดำเนินต่อไป
  • ผลกระทบที่น่าจะเกิดขึ้น และผลกระทบในตอนเริ่มต้นจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเล็กน้อยถึงปานกลาง

  • ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
  • ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย
  • มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า
  • ผลกระทบรุนแรงในระดับภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ในยุโรป จะเกิดน้ำท่วมจากแม่น้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ส่วนมากของทวีป และตามพื้นที่ชายฝั่งจะเสี่ยงต่อน้ำท่วม การกัดเซาะ และ การสูญเสียพื้นที่ในทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • ระบบทางธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ธารน้ำแข็ง ปะการัง ป่าชายเลน ระบบนิเวศของทวีปอาร์กติก ระบบนิเวศของเทือกเขาสูง ป่าสนแถบหนาว ป่าเขตร้อน เขตลุ่มน้ำในทุ่งหญ้า และ เขตทุ่งหญ้าในท้องถิ่น จะถูกคุกคามอย่างรุนแรง
  • สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น และเกิดความสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ผลกระทบที่รุนแรงกว่าจะตกอยู่กับประเทศยากจน ได้แก่ ประเทศที่กำลังพัฒนาของทวีปแอฟริกา เอเชีย และ มหาสมุทรแปซิฟิค ที่มีความสามารถน้อยที่สุดในการป้องกันตนเองจากระดับทะเลที่สูงขึ้น การแพร่กระจายของเชื้อโรค และ ผลผลิตภาคเกษตรที่ต่ำลง
  • ภาวะโลกร้อนทุกระดับจะทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาทุกข์ทรมานมากที่สุด
  • ผลกระทบร้ายแรงในระยะยาวหากโลกร้อนยังดำเนินต่อไป
  • พืดน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกากำลังละลาย หากไม่ควบคุม ความร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจจุดชนวนให้เกิดการละลายของพืดน้ำแข็งทั้งหมดในเกาะกรีนแลนด์ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 7 เมตรเป็นเวลาหลายทศวรรษ มีหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าอัตราของการไหลลงต่ำของน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาแสดงถึงภาวะเสี่ยงที่จะละลายทั้งหมด
  • กระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ไหลช้าลง เปลี่ยนทิศทาง หรือ หยุดไหล ซึ่งส่งผลกระทบอย่างสูงในยุโรป และทำให้ระบบการไหลเวียนของมหาสมุทรผิดปกติ
  • หายนะจากการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างมหาศาลจากมหาสมุทร ซึ่งทำให้ก๊าซมีเทนในบรรยากาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้โลกร้อนขึ้น
    มนุษยชาติไม่เคยถูกกดดันให้ยื้อยุดกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่หนักหน่วงเช่นนี้มาก่อน ถ้าเราไม่ลงมือทำอย่างเร่งด่วนและทันทีเพื่อหยุดภาวะโลกร้อน อาจทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถย้อนกลับคืนได้

                    

ที่มา : http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/impacts/

ปัจจัยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ


   ปัจจัยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
          การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพิ่งจะได้รับความสนใจอย่างจริงจังเมื่อไม่นานมานี้เองซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอดีต เช่น สาเหตุที่ทำให้เกิดยุคน้ำแข็งซึ่งปัจจุบัน ยังหาข้อสรุปถึงสาเหตุที่แน่นอนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ต่างเห็นพ้องกันว่า การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเป็นเรื่องในอดีต ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานมากตามจุดทางธรณีวิทยา และระยะเวลา 10 - 20 ปี ที่ผ่านมานี้ พบว่า ค่าของธาตุประกอบภูมิอากาศที่ตรวจวัดได้ แตกต่างไปจากค่าปกติทางสถิติ สรุปได้ว่าตามธรรมชาติแล้ว ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาที่ผ่านไป นั่นคือ ไม่สามารถที่จะกล่าวได้อีกแล้วว่า ภูมิอากาศคงที่แต่กล่าวได้ว่า ภูมิอากาศมิได้อยู่นิ่ง ยิ่งกว่านั้น ไม่เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์ที่ให้ความสนใจ และรับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกเช่นเดียวกัน สาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และเมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปแล้ว จะมีผลกระทบต่อไปในอนาคตอย่างไร เหตุผลที่ทำให้มนุษย์ให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ สรุปได้ดังนี้
          - จากรายละเอียดการเกิดภูมิอากาศในอดีต ชี้ให้เห็นว่า ภูมิอากาศผันแปรอยู่ตลอดเวลา และเชื่อว่าภูมิอากาศในอนาคตจะแตกต่างจากปัจจุบัน
          - จากการวิจัยเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ และอิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีส่วนทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
          - จากหลักฐานที่ตรวจวัดได้ พบว่า อย่างน้อยที่สุดมีบางลักษณะที่บ่งบอกว่า ภูมิอากาศของโลกผันแปรมากยิ่งขึ้น

          ....อย่างก็ตามอุณหภูมิในฤดูหนาวของปีหนึ่งสูงกว่าในฤดูหนาวที่ผ่านมา หรือพบว่า ในฤดูร้อนของปีหนึ่งเกิดความแห้งแล้งมากที่สุด เท่าที่เคยเป็นมาในอดีต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่าภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลง จากหลักฐานการบันทึกสภาพอากาศที่ผิดปกติในอดีตที่ผ่านมา ไม่สามารถนำมาเป็นตัวกำหนดสภาพภูมิอากาศของโลกในอนาคตได้ ข้อมูลหลาย ๆ ปี ที่ผ่านมาเป็นเพียงเครื่องชี้ถึงแนวโน้มภูมิอากาศเท่านั้น ซึ่งยังเป็นที่ถกเกียงกันอยู่ในระหว่างนักวิทยาศาสตร์บรรยากาศเนื่องจาก ค่าธาตุประกอบภูมิอากาศที่ตรวจอากาศที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือ ย้อนหลังขึ้นไปได้อย่างมากที่สุดเพียง 200 ปี เท่านั้น นั่นคือ นักวิทยาศาสตร์ทราบถึงลักษณะภูมิอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศก่อนหน้านี้ได้อย่างไร คำตอบคือได้จากหลักฐานทางอ้อม เช่น การตรวจสอบและวิเคราะห์ปรากฎการณ์ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเทคนิคที่สำคัญ และน่าสนใจมากที่สุด


การวิเคราะห์ความเป็นมาของภูมิอากาศโลก


          ในการวิเคราะห์ความเป็นมาของภูมิอากาศโลกในระยะเวลา 100 - 1,000 ปี ที่ผ่านมาคือ การวิเคราะห์ตะกอนใต้ท้องมหาสมุทร และการวิเคราะห์ไอโซโทปของก๊าซออกซิเจน
          1. การวิเคราะห์ตะกอนใต้ท้องมหาสมุทร
                   แม้ว่าตะกอนใต้ท้องมหาสมุทรมีหลายชนิด แต่ทุกชนิดจะมีส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตรวมอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยมีชีวิตอยู่ใกล้ ๆ ผิวหน้าน้ำเมื่อเสียชีวิต ส่วนประกอบที่เป็นของแข็งจะจมลงสู่ท้องมหาสมุทรอย่างช้า ๆ ต่อมาจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของตะกอน ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ตะกอนใต้ท้องมหาสมุทรจะมีประโยชน์มาก ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอดีตได้เป็นอย่างดีเพราะว่า จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยใกล้ ๆ ผิวหน้าน้ำ จะเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่ง Richard Foster Flint อธิบายว่า "บริเวณรอยต่อระหว่างผิวหน้าน้ำกับอากาศอุณหภูมิเฉลี่ยรายปีของผิวหน้าน้ำในมหาสมุทร จะเท่ากับอุณหภูมิของอากาศที่อยู่ติดกัน อุณหภูมิที่สมดุลย์ระหว่างผิวหน้าน้ำมหาสมุทรกับอากาศที่อยู่เหนือขึ้นไปนี้ หมายความว่า การเแปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ใกล้ผิวหน้าน้ำตามไปด้วย จากการวิเคราะห์ตะกอนใต้ท้องมหาสมุทรปรากฎว่า ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเปลือกของ Pelagie foraminifers ซึ่งสัตว์จำพวกนี้อ่อนไหวต่อการผันแปรของอุณหภูมิของน้ำมาก นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่างตะกอนใต้ท้องมหาสมุทรกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเห็นได้ชัด
                  จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ตะกอนใต้ท้องมหาสมุทรเป็นแหล่งข้อมูล ที่มีประโยชน์อย่างมหาศาลในการขยายความเข้าสภาพภูมิอากาศในอดีต
          2. การวิเคราะห์ไอโซโทปของก๊าซออกซิเจน
                  วิธีการนี้เป็นการหาอัตราส่วน ระหว่างไอโซโทปของก๊าซออกซิเจน 2 ชนิด คือ 16O กับ 18O ไอโซโทปของ 16O เบากว่า 18O นั่นคือ 16O ระเหยจากมหาสมุทรในรูปของไอน้ำได้ง่ายกว่า เมื่อไอน้ำนี้ควบแน่นและตกลงมาในรูปของหยาดน้ำฟ้า หยาดน้ำฟ้าจึงเต็มไปด้วย 16O ส่วน 18O จะสะสมอยู่ในมหาสมุทรมากกว่า ด้วยเหตุนี้ ระหว่างช่วงเวลาที่เกิดธารน้ำแข็งแผ่เป็นบริเวณกว้างนั้น ปริมาณ 18O ในน้ำทะเลจะเพิ่มสูงมากขึ้น ในทางกลับกัน ในยุคที่โลกร้อนขึ้น ประมาณน้ำแข็งละลายหายไปอย่างรวดเร็ว ปริมาณ 18O เมื่อเปรียบเทียบกับ 16O ในน้ำทะเลลดลงด้วย ถึงเวลานี้ สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ จะสร้างเปลือกที่ประกอบด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต ป้องกันตนเอง อัตราส่วนของ 18O กับ 16O วิเคราะห์ได้จากเปลือกของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ที่ผสมอยู่ในตะกอนใต้ท้องมหาสมุทร ความผันแปรของไอโซโทปก๊าซออกซิเจนที่วิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง จะบ่งบอกถึงความผันแปรของภูมิอากาศในอดีตได้เป็นอย่างดี
                  นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราส่วนของไอโซโทปก๊าซออกซิเจน 18O กับ 16O มีผลมาจากอุณหภูมิอีกด้วยกล่าวคือ เมื่ออุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น 18O จะระเหยออกได้มาก หากอุณหภูมิของน้ำลดลง 18O จะระเหยออกได้น้อยกว่า ดังนั้น ไอโซโทปก๊าซออกซิเจนที่หนักกว่า (18O) จะมีอยู่มากในหยาดน้ำฟ้ายุคที่อากาศร้อนขึ้น และจะมีอยู่น้อยในยุคที่อากาศหนาวเย็นลง นักวิทยาศาสตร์ใช้หลักการศึกษาชั้นน้ำแข็งที่เกาะกรีนแลนด์ ซึ่งสามารถคาดหมายการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอดีตได้ยังมีวีธีการต่าง ๆ อีกมากมายที่ใช้ในการศึกษาภูมิอากาศในอดีต เนื่องจากภูมิอากาศมีอิทธิพลโดยตรงอย่างใกล้ชิดต่อการกำเนิดดิน และการเจริญเติบโตตลอดจนธรรมชาติของพืชพรรณ นั่นคือ การวิเคราะห์ดินและการวิเคราะห์วงปีของต้นไม้ ก็สามารถนำมาใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้จากบันทึกทางประวัติศาสตร์
                 ถึงแม้ว่า ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศก็ตาม แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ระบุในบันทึกนั้น เช่น ภาวะน้ำท่วม ความแห้งแล้ง หรือการย้ายถิ่นของประชากร เป็นไปได้ว่า เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจากหลักฐานต่าง ๆ ในอดีต จะต้องระบุเวลาของการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วยว่าเกิดขึ้นเมื่อไร แม้ว่าผลจากการศึกษาสามารถนำมาคาดหมายแนวโน้ม และความผันแปรของภูมิอากาศ ในอนาคตได้โดยอาศัยเหตุและผล แต่อาจผิดพลาด ได้การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จากข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดธาตุประกอบอุตุนิยมวิทยามาเป็นเวลานาน อาจมีข้อผิดพลาดได้เช่นกัน ซึ่ง Howard J. Crichfield สรุปว่า "ข้อมูลภูมิอากาศที่ได้จากการตรวจวัดมาเป็นเวลานาน อาจมีข้อผิดพลาดได้ ประการแรก คือ ผิดพลาดจากกระบวนการตรวจวัด เช่น คำนวณผิด การติดตั้งเครื่องมือเหนือพื้นดินไม่ได้มาตรฐาน ค่าผิดพลาดนี้อาจเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลถึงการคาดหมายแนวโน้มต่อไปข้างหน้าด้วย
                ประการที่สอง การเคลื่อนย้ายสถานีตรวจอากาศ ไปยังสถานที่แห่งใหม่ นับเป็นการทำลายการบันทึกที่มีคุณค่า สำหรับวัตถุประสงค์ในการศึกษา การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหากสถานีตรวจอากาศตั้งอยู่ที่เดิมนานเป็นศตวรรษ แล้วการเปลี่ยนแปลงของพืชพรรณธรรมชาติ การระบายน้ำ สิ่งก่อสร้างรอบ ๆ สถานี และภาวะมลพิษทางอากาศสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากกว่าจากวิธีการอื่น ๆ ดังนั้นจะต้องทำการตรวจวัด ตรวจสอบ และเปรียบเทียบ ธาตุประกอบภูมิอากาศอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้การศึกษาการผันแปรของภูมิอากาศได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://guru.sanook.com/4330/

สรุปสภาวะอากาศของประเทศไทย พ.ศ.2558

              สรุปสภาวะอากาศของประเทศไทย พ.ศ.2558

                   พ.ศ.2558 เป็นปีที่ประเทศไทยมีฝนน้อยและต่่ากว่าค่าปกติเกือบทุกเดือนโดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคมและ มิถุนายน มีเพียงเดือนมกราคม กรกฎาคมและกันยายนที่มีปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ ซึ่งในเดือนดังกล่าวเป็นช่วงที่ ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกในช่วงฤดูหนาวต้นปีและจากร่องมรสุมและมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้ตลอดทั้งปีมีพายุหมุนเขตร้อนเพียง 1 ลูกที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย คือ พายุโซนร้อน "หว่ามก๋อ" (VAMCO 1519) โดยเคลื่อนเข้าสู่อ่าเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อวันที่ 15 กันยายน ขณะมีก่าลัง แรงเป็นพายุดีเปรสชัน โดยปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั้งประเทศต่่ากว่าค่าปกติประมาณ 11 เปอร์เซ็นต์และต่่ากว่าปี ที่ผ่านมา(พ.ศ.2557 ต่่ากว่าค่าปกติ 4 เปอร์เซ็นต์) ส่าหรับอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยสูงกว่าค่าปกติ0.8 องศาเซลเซียสและสูงกว่าปีที่ผ่านมา(พ.ศ.2557 สูงกว่าค่าปกติ 0.4 องศาเซลเซียส) หลายพื้นที่มีอุณหภูมิสูงสุดสูงกว่า สถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้ โดยอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนสูงกว่าค่าปกติทุกเดือน โดยเฉพาะเดือนธันวาคมและพฤศจิกายน สูงกว่าค่าปกติ 2.1 และ 1.9 องศาเซลเซียส ตามล่าดับ นอกจากนี้จากการติดตามสถานการณ์อุณหภูมิผิวน้่าทะเลใน มหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรพบว่าเป็นปรากฏการณ์เอลนีโญก่าลังปานกลางตั้งแต่กลางปี และมีก่าลังแรงในช่วง ปลายปี ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนต่่ากว่าค่าปกติและอุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติในช่วงต้นฤดูฝน ส่าหรับรายละเอียด ต่างๆมีดังนี้

                 ในช่วงต้นปี (มกราคมและกุมภาพันธ์) ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับ อิทธิพลจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมเกือบตลอดช่วงและแผ่เสริม ลงมาปกคลุมเป็นระยะๆ ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีก่าลังค่อนข้างแรง ในช่วงเดือนมกราคม ท่าให้ประเทศไทยมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวในตอนเช้าส่วนมากในภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ส่าหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีรายงานน้่าค้างแข็งบางพื้นที่ ในขณะที่ตอนกลางวันอุณหภูมิกลับสูงขึ้นมากจนมีอากาศร้อนบางพื้นที่เป็นบางวัน ส่งผลให้มีความแตกต่างของ อุณหภูมิระหว่างวันมากโดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งมีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างวันมากที่สุดในปีนี้อย่างไร ก็ตามอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ต่่ากว่าค่าปกติทุกภาค เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่ใกล้เคียงกับค่าปกติ อุณหภูมิต่่าที่สุด 5.7 องศาเซลเซียส ที่กลุ่มงานอากาศเกษตรนครพนม จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 14 มกราคม ซึ่งเป็นอุณหภูมิต่่าที่สุดของประเทศไทยในปีนี้ส่วนอุณหภูมิต่่าสุดบริเวณยอดดอย 3.0 องศาเซลเซียส ที่สถานีเกษตร หลวงอ่างขาง อ่าเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ส่าหรับปริมาณฝนในช่วงเดือนมกราคมและ กุมภาพันธ์บริเวณประเทศไทยตอนบนมีรายงานฝนตกในบางช่วง จากอิทธิพลของคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก โดยเฉพาะ ในภาคเหนือและภาคกลาง อย่างไรก็ตามปริมาณฝนรวมทั้งเดือนมกราคมของประเทศไทยในปีนี้23.9 มิลลิเมตร สูงกว่าค่า ปกติ 41 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเดือนกุมภาพันธ์ปริมาณฝนรวมทั้งเดือนต่่ากว่าค่าปกติทั้งประเทศ เว้นแต่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่มีปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ
                 
                   เมื่อเข้าสู่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ลมระดับล่างที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และลมฝ่ายใต้ ประกอบกับอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์เป็นต้นไปอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างชัดเจน และมี อากาศร้อนในตอนกลางวันต่อเนื่องในหลายพื้นที่อีกทั้งอุณหภูมิในช่วงเช้าเริ่มสูงขึ้นโดยทั่วไปด้วย จึงถือว่าสิ้นสุดฤดูหนาว และเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน จากนั้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมหย่อมความกดอากาศต่่าเนื่องจากความร้อนปกคลุม ประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ ท่าให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ส่วนมากใน บริเวณประเทศไทยตอนบนและมีบางพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงสุดท่าลายสถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้ อุณหภูมิสูงสุดวัดได้43.1 องศาเซลเซียส ที่อ่าเภอศรีส่าโรง จังหวัดสุโขทัย เมื่อวันที่ 20 เมษายน ซึ่งเป็นอุณหภูมิสูงที่สุดของประเทศไทยในปีนี้ โดยอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงฤดูร้อนสูงกว่าค่าปกติทุกภาคโดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคมมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติในทุก ภาคของประเทศประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนบริเวณความกดอากาศสูง จากประเทศจีนยังคงแผ่ซึมเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆอีกทั้งมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศ พม่าเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออก เฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยเกือบตลอดช่วง ส่งผลให้มีรายงานฝน ฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกเป็นระยะๆ ท่าให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีปริมาณฝนต่่ากว่าค่าปกติตลอดทั้งฤดู ปริมาณฝนมากที่สุดใน 24
ชั่วโมงในช่วงฤดูร้อนปี นี้175.0 มิลลิเมตร ที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 24 เมษายน

                     สำหรับฝนในช่วงเดือนพฤษภาคมมีปริมาณน้อยและการกระจายของฝนไม่สม่่าเสมอ ฝนที่ตกส่วนใหญ่อยู่ในช่วง กลางเดือนเป็นต้นไปซึ่งเป็นผลจากลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยในช่วงดังกล่าว มีก่าลังแรงขึ้นในช่วงปลายเดือน โดยหลายพื้นที่มีฝนตกต่อเนื่องและเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ปริมาณฝน รวมเดือนพฤษภาคมต่่ากว่าค่าปกติในเกือบทุกพื้นที่และปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศต่่ากว่าค่าปกติ 46 เปอร์เซ็นต์ซึ่งต่่าที่สุด ในฤดูฝนปีนี้จากนั้นในเดือนมิถุนายนถึงกันยายน แม้ว่ามรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศ ไทยและอ่าวไทยมีก่าลังแรงเป็นระยะๆแต่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศพม่า ลาวและเวียดนามตอนบนเป็นส่วนใหญ่ มีเพียง บางช่วงเท่านั้นที่เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ท่าให้พื้นที่ส่วน ใหญ่ของประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ส่วนมากบริเวณประเทศไทยตอนบน ต่อเนื่องไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคม โดยหลายพื้นที่มีอุณหภูมิสูงสุดท่าลายสถิติเดิมที่เคยตรวจวัดได้และบางพื้นที่มี อุณหภูมิสูงสุดท่าลายสถิติเดิมมากกว่า 1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดในช่วงนี้วัดได้ 41.1 องศาเซลเซียส ที่อ่าเภอชัย บาดาลจังหวัดลพบุรีเมื่อวันที่ 11 มิถุนายนและที่อ่าเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์เมื่อวันที่ 3และ 4 กรกฎาคมโดยเกือบ ตลอดทั้งฤดูฝนมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติเกือบทุกภาคอย่างไรก็ตามมีบางช่วงที่ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นจากอิทธิพลของ พายุหมุนเขตร้อนและหย่อมความกดอากาศต่่าที่เคลื่อนเข้ามาใกล้ ได้แก่พายุโซนร้อน“คูจิระ”(KUJIRA 1508)ที่เคลื่อนตัว ผ่านเกาะไหหล่าและอ่าวตังเกี๋ยก่อนเคลื่อนขึ้นฝั่งและสลายตัวไปบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงปลายเดือน มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่่าบริเวณประเทศเวียดนามและอ่าวตังเกี๋ยในช่วงเดือนกรกฎาคม และพายุโซนร้อน "หว่ามก๋อ" (VAMCO 1519) ในช่วงกลางเดือนกันยายน ซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกเดียวในปีนี้ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณอ่าเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีขณะอ่อนก่าลังลงเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงเช้าของวันที่ 15 กันยายน ก่อนจะ เคลื่อนผ่านบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์และบุรีรัมย์ แล้วอ่อนก่าลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่่าในช่วงบ่ายของวัน เดียวกัน จากนั้นได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกระยะหนึ่งก่อนเคลื่อน เข้าปกคลุมประเทศพม่าในช่วงเช้าของวันที่ 18 กันยายน อิทธิพลของ “หว่ามก๋อ” ท่าให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตก หนาแน่นโดยเฉพาะภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ที่มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่และมีรายงานน้่าท่วมฉับพลัน และน้่าป่าไหลหลากบางพื้นที่ในช่วงดังกล่าว โดยปริมาณฝนเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมและกันยายนสูงกว่าค่าปกติ 5 เปอร์เซ็นต์ และ 4 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ ส่าหรับปริมาณฝนมากที่สุดใน 24 ชั่วโมงในช่วงฤดูฝนปีนี้วัดได้ 300.3 มิลลิเมตร ที่ อ่าเภอรัตนวาปีจังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมซึ่งเป็นปริมาณฝนสูงสุดของประเทศไทยในปีนี้เมื่อเข้าสู่เดือน ตุลาคมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นและมีรายงานน้่าท่วมบางพื้นที่ในช่วงต้นเดือน ต่อจากนั้นมีฝนและ อุณหภูมิลดลงโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปีนี้ประเทศไทยตอนบนได้สิ้นสุดฤดูฝนและเข้าสู่ฤดู หนาวเมื่อวันที่ 22 ตุลาคมโดยอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนตุลาคมสูงกว่าค่าปกติทุกภาค ส่วนปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศต่ำกว่า ค่าปกติ

               ในช่วงฤดูหนาวปลายปี(พฤศจิกายนถึงธันวาคม) ประเทศไทยมีอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก เนื่องจากบริเวณ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่แผ่ไปทางทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ อุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงนี้สูงกว่าค่าปกติในทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่อุณหภูมิ เฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติมากกว่า 2 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ใน ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมากในช่วงต้นและกลางเดือนธันวาคม ส่าหรับบริเวณเทือกเขาและยอด ดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่่าสุดในช่วงนี้ 11.1 องศาเซลเซียส ที่สถานีอากาศเกษตรนครพนม อ่าเภอเมือง จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม อุณหภูมิยอดดอยต่่าสุด 3.6 องศาเซลเซียส ที่ยอดดอยอินทนนท์อ่าเภอ จอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ส่าหรับฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนมีรายงานฝนเป็นระยะๆ จาก อิทธิพลของคลื่นกระแสลมตะวันตกที่เคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบนรวมถึงคลื่นกระแสลมตะวันออกที่เคลื่อนผ่าน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ท่าให้ปริมาณฝนเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงฤดูหนาว ปลายปีส่วนใหญ่สูงกว่าค่าปกติส่าหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและ ภาคใต้เกือบตลอดช่วง ประกอบกับในช่วงวันที่ 23-24 ธันวาคม หย่อมความกดอากาศต่่าก่าลังแรงที่ปกคลุมบริเวณ ทะเลจีนใต้ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคใต้ตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ท่าให้มีฝนตกเกือบตลอดช่วง แต่ปริมาณฝนไม่ มากนัก ส่งผลให้ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือนของภาคใต้โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคต่่ากว่าค่าปกติ และปริมาณ ฝนรวมเฉลี่ยทั้งประเทศในช่วงนี้ต่่ากว่าค่าปกติด้วย ปริมาณฝนมากที่สุดใน 24 ชั่วโมงในช่วงฤดูหนาวปลายปี วัดได้ 200.9 มิลลิเมตร ที่อ่าเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน

                                                  ******************************
หมายเหตุ : ข้อมูลฝน อุณหภูมิและภัยธรรมชาติเป็นรายงานเบื้องต้น
               
                                                                                             ศูนย์ภูมิอากาศ ส่านักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
                                                                                                                 5 ก.พ. 2559


ผลกระทบต่อโลกเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น

             ผลกระทบต่อโลกเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 

         โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme-UNEP) ได้รายงานเกี่ยวกับปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศดังนี้ 
          ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ๒๗๐-๒๙๐ ส่วนในล้านส่วน
          ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ๓๔๕-๓๕๐ ส่วนในล้านส่วน 
          ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ คาดว่า ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น เป็น ๒ เท่า 
          โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้วิเคราะห์ และคาดว่า ในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ (พ.ศ. ๒๕๗๓) อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น ๑.๕-๓ °ซ. และจะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางดังต่อไปนี้ 

๑. ระดับน้ำทะเลอาจจะขึ้นสูงอีก ๔๐-๑๒๐ เซนติเมตร 

               ซึ่งจะมีผลต่อพื้นที่ชายทะเล และกิจกรรมต่างๆ ในบริเวณนั้น เช่น การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในป่าชายเลน การท่องเที่ยว เป็นต้น 
            ในระหว่างที่โลกมีวิวัฒนาการ น้ำทะเลเคยขึ้นลงเกินกว่า ๑๐๐ เมตรมาแล้ว และในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมาคือ ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๘ เป็นต้นมา ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ ๘-๒๐ เซนติเมตร เชื่อกันว่า เป็นผลจากที่มี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในบรรยากาศถึงอัตราร้อยละ ๒๐ และการที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ก็เพราะน้ำทะเลขยายตัว เมื่อได้รับความร้อน และน้ำแข็งในแถบขั้วโลกละลายเป็นน้ำ การที่น้ำเค็มรุกล้ำเข้าสู่แม่น้ำลำคลอง น้ำใต้ดิน และแหล่งน้ำจืดต่างๆ มากขึ้น ย่อมมีผลทำให้ระบบนิเวศปรวนแปร และอาจทำให้เกิดความเสียหายได้หลายประการ 

๒. ทำให้ภูมิอากาศเกิดความปรวนแปร 

           จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาพบว่า พายุไซโคลนซึ่งเคยเกิดขึ้น ๓.๑ ครั้ง ในคาบ ๑๐ ปี คือ ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๔๐ (พ.ศ. ๒๔๘๓) และได้เพิ่มเป็น ๑๕ ครั้งใน ค.ศ. ๑๙๘๐ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ดังนั้นจึงเกรงว่า ถ้าอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น จะทำให้ลมมรสุม ในคาบสมุทรเอเชียแปซิฟิกเพิ่มกำลังแรงมากขึ้น และจะพัดเลยขึ้นเหนือไป ทำให้ฝนไปตกในท้องถิ่นกันดาร และในทางตรงกันข้าม จะทำให้เกิดความแห้งแล้งในที่ที่ มีฝนตกชุก ตลอดจนจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันขึ้นในบางแห่ง บางแห่งจะเกิดปัญหาน้ำเซาะดินพังทลายลง และตะกอนซึ่งมากับน้ำขุ่นตามทางน้ำ ก็จะทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินด้วย 

๓. แหล่งน้ำใช้ในการชลประทานจะผันแปรไปด้วย 

          จากการคาดคะเนหากว่า อุณหภูมิของโลกเพิ่ม ๑.๕-๔.๕ องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๗-๑๕ ทั่วโลก แต่มิได้กระจายไปทุกแห่งอย่างทั่วถึง ในแหล่งที่มีน้ำมาก และที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นนั้น พืชก็อาจจะเร่งการสังเคราะห์แสงขึ้น ดังนั้นจึงต้องใช้น้ำมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และจำเป็นต้องมีการจัดสรรน้ำ เพื่อการชลประทานเป็นพิเศษกว่าเดิมด้วย 

๔. ต้องพัฒนาและปรับปรุงการเกษตรกรรม 

          ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก ซึ่งอาจจะต้องแสวงหาพืชพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพของสิ่งแวดล้อม มีการวางแผนการเพาะปลูก และการจำหน่ายที่มีคุณภาพ มิฉะนั้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ในสภาวะปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

๕. แหล่งพลังงานได้รับผลกระทบ 

           เนื่องจากการปรวนแปรของภูมิอากาศ เช่น การเกิดลมมรสุมต่างๆ อย่างรุนแรง เคยทำให้เรือขุดเจาะน้ำมันคว่ำ เกิดการเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน ตลอดจนขัดขวางการแสวงหาแหล่งพลังงาน ใหม่ๆ การผลิตไฟฟ้า ด้วยพลังน้ำ พลังลม และพลังนิวเคลียร์ ก็อยู่ในข่ายที่จะได้รับผลกระทบ จากความแปรปรวนทางภูมิอากาศด้วยเช่นกัน


ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=15&chap=10&page=t15-10-infodetail07.html

อุณหภูมิที่สูงขึ้นบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของอากาศ

     อุณหภูมิที่สูงขึ้นบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงอากาศ

             ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2404 อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report – TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC) จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปี

                               
                                 รูปที่ 1 ความผันแปลของอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในรอบ 100 ปี
                                        และในซีกโลกเหนือรอบ 1,000 ปี (IPCC, 2001)
           แบบจำลองสภาพภูมิอากาศมีการคาดการณ์กันว่าหากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังเป็นเช่นปัจจุบัน อุณหภูมิโลกเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 องศาเซลเซียส ในปีพ.ศ. 2643 (เนื่องจากผลจากแบบจำลองยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูง ค่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นจึงคาดว่าอยู่ในระหว่าง 1 ถึง 3.5 องศาเซลเซียส) การคาดการณ์นี้คำนึงถึงผลของก๊าซแอโรโซลและผลของความเฉื่อยของมหาสมุทรเอาไว้แล้ว ผลของความเฉื่อยจากมหาสมุทรหมายความว่าพื้นผิวโลกและบรรยากาศระดับล่างจะยังคงร้อนต่อไปประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส ถึงแม้ว่าปริมาณการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกจะหยุดลงในปี พ.ศ. 2643 ดังนั้น ถึงแม้จะมีการลดการปล่อยก๊าซลงและระดับก๊าซในบรรยากาศจะไม่เพิ่มขึ้นก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยังคงเกิดขึ้นต่อไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้น ผลกระทบที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น อาจเกิดขึ้นนานกว่าที่เราคาดเดาได้
           ข้อมูลตรวจวัดจากสถานีอุตุนิยมวิทยาทั่วประเทศ บ่งชี้ว่าอุณหภูมิในประเทศไทยในรอบ 55 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2498-2552) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (ระดับความเชื่อมั่นมากกว่า 99% หรือ ค่า p<0.001) โดยค่าเฉลี่ยรายปีของอุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิเฉลี่ย และอุณหภูมิต่ำสุด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 0.86 0.95 และ 1.45 องศาเซลเซียส ตามลำดับ (รูปที่ 2) ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของไทย (0.95 องศาเซลเซียส) มีอัตราที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก (0.69 องศาเซลเซียส)(รูปที่ 3)
                        temp2
                  รูปที่ 2 ค่าแตกต่างจากค่าเฉลี่ยในช่วง ค.ศ.1961-1990 (พ.ศ. 2504-2533)                                      ของ a) อุณหภูมิสูงสุด )b) อุณหภูมิเฉลี่ย และ (c) อุณหภูมิต่ำสุด เส้นสีแดงและน้ำเงิน                       แสดงแนวโน้มเชิงเส้นตรงและค่าเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่ในคาบเวลา 5 ปี ตามลำดับ(อัศมน 2554)

                       
                 รูปที่ 3 เปรียบเทียบค่าแตกต่างจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิโลก (เส้นสีน้ำเงิน) และประเทศไทย (เส้นสีแดง)ในช่วงค.ศ.1961-1990 (พ.ศ. 2504-2533)(อัศมน 2554)

ที่มา: http://www.greenintrend.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89/

ภาพเคลื่อนไหว

                               ภาพเคลื่อนไหว (animation)

    ความหมายภาพเคลื่อนไหว
           ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพกราฟฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการนำภาพนิ่งมาเรียงกันเป็นชุดๆเพื่อแสดงบนจอทีละภาพด้วยความเร็วสูง ในการฉายภาพแต่ละภาพจะต่อเนื่องกันให้ดูเหมือนว่าเคลื่อนไหวจริง ซึ่งอาจเป็นภาพที่ได้จากภาพวาด ภาพถ่าย หรือภาพคน สัตว์ สิ่งของก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเฉพาะเจาะจงแต่ภาพการ์ตูนเท่านั้น

     ประเภทของภาพเคลื่อนไหว

                   ภาพเคลื่อนไหวแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 

        1.แบบ 2 มิติ (2D Animation)

                  ภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ มองเห็นได้ทั้งความสูงและความกว้าง ซึ่งจะมีความเหมือนจริงพอสมควรและการสร้างจะไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏตามเว็บต่างๆ รวมทั้ง     Gif Animation

        2.แบบ 3 มิติ (3D Animatio)

                  ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ มองเห็นได้ทั้งความสูง ความกว้าง และความลึก ภาพที่เห็นจะมีความสมจริงมากถึงมากที่สุด เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง NEMO เป็นต้น

     รูปแบบของภาพเคลื่อนไหว มี 3 แบบ คือ
        1. Traditional Animation หรือ Hand Drawing Animation หรือ 2D Animation 
                   คือ ภาพเคลื่อนไหวที่เกิดจากการวาดภาพที่ละภาพหลายๆ พันภาพ และฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องโดยใช้เวลาไม่กี่วินาที เช่น 1 วินาที ใช้รูป 24 เฟรม เป็นภาพเคลื่อนไหวสมัยแรกเริ่มที่มักจะใช้การวาดด้วยมือ งานประเภทนี้พบเห็นได้ทั่วไปในการทำ ภาพเคลื่อนไหวยุคแรกๆ ซึ่งใช้เทคนิคการวาดด้วยมือทีละแผ่น ข้อดีของการทำภาพเคลื่อนไหวชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ สวยงาม น่าชม แต่มีข้อเสียคือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก ต้องใช้ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหว (Animator) จำนวนมากและต้นทุนการผลิตสูง
        2.Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation
                     ภาพเคลื่อนไหวประเภทนี้ ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหวต้องเข้าไปทำการเคลื่อนไหวโดยตรงกับแบบจำลอง (Model) และทำการถ่ายภาพเอาไว้ทีละเฟรมๆ แบบจำลองนี้อาจจะเป็นของเล่นหรืออาจจะสร้างจากดินน้ำมัน การทำ Stop Motion นี้ต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก 
        3.Computer Animation
                      เป็นภาพเคลื่อนไหวที่มักพบกันได้บ่อยในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการใช้โปรแกรมเป็นไปได้ง่ายและมีการนำหลักการแบบ 2D เข้ามาผสมผสานกับตัวโปรแกรม ซึ่งทำได้ง่ายและสะดวกในการแก้ไขและการแสดงผล ปัจจุบันมีซอฟแวร์ต่างๆ ที่สามารถช่วยในการทำภาพเคลื่อนไหว เช่น โปรแกรม 3DS Max, Maya, Adobe flash เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาและลดต้นทุนการผลิตเป็นอย่างมาก จึงเป็นชนิดที่นิยมทำกันมาก
    การเก็บข้อมูลภาพเคลื่อนไหว
       ในปัจจุบันข้อมูลที่จัดเก็บเป็นภาพเคลื่อนไหวมี 2 รูปแบบ คือ

          1. แบบอนาลอก

          2. แบบดิจิตอล                                                                                    
         รูปแบบในการจัดเก็บข้อมูล
            รูปแบบในการจัดเก็บข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน และได้รับความนิยมมีดังนี้

          1.AVI (Audio Video Interface) 
               เป็นรูปแบบมาตรฐานบนระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows เมื่อผู้ใช้ต้องการแสดงภาพเคลื่อนไหวซึ่งถูกจัดเก็บในรูปแบบAVI สามารถทำได้โดยการใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Media Player แฟ้มข้อมูลรูปแบบนี้จะมีส่วนต่อขยายของแฟ้มข้อมูลเป็น.avi

         2.Quicktime Movie
                เป็นรูปแบบมาตรฐานบนระบบคอมพิวเตอร์จากบริษัทApple Computer เมื่อผู้ใช้ต้องการแสดงภาพเคลื่อนไหวซึ่งถูกจัดเก็บในรูปแบบ Quicktime Movie สามารถทำได้โดยการใช้ซอฟต์แวร์Quicktime Player ซึ่งทำงานบนระบบปฏิบัติการได้หลายระบบ เช่นMicrosoft Windows Unix MacOS แฟ้มข้อมูลรูปแบบนี้จะมีส่วนต่อขยายของแฟ้มข้อมูลเป็น.mov

         3.MPEG (Moving Picture Experts Group)
                เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปบนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ และนิยมใช้กับเครื่องเล่นภาพเคลื่อนไหว

ประโยชน์ของภาพเคลื่อนไหว
1.ง่ายต่อการใช้งาน

2.สามารถได้ถึงความรู้สึก

3.สร้างเสริมประสบการณ์

4.เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้

5.เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น

6.คุ้มค่าในการลงทุน 
7.เพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน                                                  



ที่มา : https://sites.google.com/site/animationsites/