วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ (3มิติ)


ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบ (3มิติ)


SketchUp Pro 2015 คือโปรแกรมที่ใช้ออกแบบงาน 3 มิติ ไม่ว่าจะเป็นงานสถาปัตยกรรม งานวิศวกรรม งานออกแบบภายใน งานออกแบบผลิตภัณฑ์ งานออกแบบเกม และงานออกแบบอื่น เป็นต้น มีเครื่องมือที่หลากหลายไว้เลือกใช้งานและยังมีราคาที่แพงเกือบ 20,000 บาท 
ลยทีเดียว แต่ก็ยังถือว่าถูกเมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ CAD ประเภทอื่นๆ

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (2มิติ)


                      ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (2มิติ)

                    LibreCAD เป็นโปรแกรมออกแบบ วัตถุ 2 มิติ (2D) หรือเรียกว่า โปรแกรม                                                                                           วาดแบบก็ได้ สามารถใช้ออกแบบวัตถุ สื่งของ 
หรืออะไรก็ได้ที่ง่ายๆ อาทิเช่น กลไกของเครื่อง
จักรกล วิศวกรออกแบบสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น 
เป็นโปรแกรมออกแบบบ้านได้ดี หรือจะไปใช้ ออกแบบครัวเรือน ออกแบบตึก ออกแบบอาคาร ออกแบบห้อง เพื่อใช้สอยในกิจการ หรือ สถานการณ์ ต่างๆ รวมไปถึงการ ออกแบบถุงพลาสติก ออกแบบเสื้อผ้า ด้านหน้าด้านหลัง ได้  
เป็นอย่างดี                                                                               

เทคโนโลยีสะอาด


                              เทคโนโลยีสะอาด

                เทคโนโลยีสะอาด คือ กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ และพลังงานในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดของเสียที่แหล่งกำเนิด เป็นการลดภาระในการกำจัดของเสีย  ช่วยประหยัดวัตถุดิบและพลังงาน เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกอีกทั้งเป็นการพัฒนาขีดความสามารถ และประสิทธิภาพของการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวไปสู่มาตรฐาน ISO 14000 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย

          หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
     1.การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด แบ่งได้เป็น 2 แนวทางใหญ่ๆ
     1.1  การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ อาจทำได้โดยการออกแบบให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด หรือให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
     1.2  การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
          1.2.1  การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ โดยการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ หรือมีความบริสุทธิ์สูง รวมทั้งลดหรือยกเลิกการใช้วัตถุดิบที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงการเติมสิ่งปนเปื้อนเข้าไปในกระบวนการผลิต และพยายามใช้วัตถุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
          1.2.2  การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ทำได้โดยการออกแบบใหม่ เพิ่มระบบอัตโนมัติเข้าช่วยปรับปรุงคุณภาพของอุปกรณ์ และแสวงหาเทคโนโลยีใหม่มาใช้
          1.2.3  การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน เป็นขั้นตอนที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เสียลดลง และยังทำให้เกิดของเสียที่จะต้องจัดการกำจัดลดน้อยลง โดยกำหนดให้มีขั้นตอนการผลิตกระบวนการงานและขั้นตอนบำรุงรักษาที่ชัดเจน รวมถึงการจัดระบบ การบริหารการจัดการในโรงงาน
2.  การนำกลับมาใช้ใหม่ แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทาง คือ
    2.1  การใช้ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน โดยหาทางนำวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพมาใช้ประโยชน์ หรือหาทางใช้ประโยชน์จากสารหรือวัสดุที่ปนอยู่ในของเสีย โดยนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเดิม หรือกระบวนการผลิตอื่นๆ
   2.2  การใช้เทคโนโลยีหมุนเวียน เป็นการนำเอาของเสียผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อนำเอาทรัพยากรกลับมาใช้อีก หรือเพื่อทำให้เป็นผลพลอยได้
แนวทางของเทคโนโลยีสะอาด

       แนวคิดของเทคโนโลยีสะอาด คือการป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด และการลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ให้น้อยที่สุด ในการกำจัดมลพิษจากอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยทำได้ตามขั้นตอนโดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้
1. การลดที่แหล่งกำเนิด          2. การใช้หมุนเวียน 
3. การบำบัด                          4. การปล่อยทิ้ง      
  
            เทคโนโลยีสะอาด จะเน้นการลดที่แหล่งกำเนิดและการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยในการทำจะต้องมีการศึกษาถึงกระบวนการผลิต เพื่อหาแนวทางที่จะปรับปรุงกระบวนการในการลดการใช้และการนำกลับมาใช้ใหม่ของพลังงาน สารเคมี หรือน้ำ
            ในการเสนอทางเลือกเทคโนโลยีสะอาด (CT option) และการดำเนินงานในการนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ มีขั้นตอนในการประยุกต์ใช้ตามหลักของเทคโนโลยีสะอาด 5 ขั้นตอน คือ
1.       การวางแผนและการจัดองค์กร (Planning & Organization)
2.       การประเมินเบื้องต้น (Pre-Assessment)
3.       การประเมินผล (Assessment)
4.       การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility)
5.       การเริ่มต้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด
         1.       ผู้บริหารเห็นความสำคัญและมีความมุ่งมั่น
         2.       พนักงานมีความเข้าใจ และเห็นความสำคัญ
         3.       ระบุสาเหตุ แนวโน้มของปัญหาการใช้ทรัพยากรของเสียและสิ่งแวดล้อม

         4.       ประเมินวิธีการแก้ไข ปรับปรุงโดยอาศัยความรู้แขนงต่างๆ

5W1H



                                   5W1H

          6 คำถามที่คุณจะต้องตอบให้ได้ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ (5W-1H)

     1. W – Who : ใครคือลูกค้าคุณ?
           คำถามนี้เป็นคำถามแรกที่ผมจะคิด นั่นก็คือ การวิเคราะห์ว่า ใคร คือกลุ่มเป้าหมายเวบไซต์ของคุณ? คุณจะต้องระบุลักษณะของกลุ่มเป้าหมายของคุณได้อย่างชัดเจน ได้เป็นที่แน่นอน เช่น เพศ, อายุ, อาชีพ, ฐานเงินเดือน, พื้นที่,พฤติกรรม ฯลฯ เพราะข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยทำให้คุณสามารถ วางแผนการตลาด และวางแผนในการผลิตสินค้าและบริการได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

     2. W – What : อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ?
          คุณ ควรจะทราบว่าสินค้าหรือบริการรูปแบบไหนที่ ลูกค้าของคุณต้องการ และคุณก็ควรที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าคุณได้ และอะไรที่จะสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าหรือบริการของคุณจากคู่แข่งคุณได้? ในข้อนี้จะต้องใช้ความละเอียดอ่อน ศึกษาความต้องการของตลาด ศึกษาว่าลูกค้าต้องการสินค้าลักษณะแบบไหน

     3. W – Where : ลูกค้าคุณอยู่ที่ไหน?
         คุณจะสามารถหาลูกค้าของคุณได้จากที่ไหนบ้าง? และที่ไหนคือที่ๆ ลูกค้าของคุณมักจะไปอยู่ และ คุณสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ ด้วยวิธีอะไร?

     4. W – When : เมื่อไรที่เค้าต้องการคุณ?
         คุณควรจะทราบถึงความต้องการของลูกค้าของคุณว่า เค้าจะต้องการสินค้าหรือบริการของคุณเมื่อไร? ในช่วงเวลาไหน? และต้องการบ่อยแค่ไหน? ซึ่งจะช่วยทำให้คุณสามารถกำหนดและวางแผนการต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง เพราะสินค้าบางอย่างคุณไม่สามารถที่จะเก็บไว้ได้นานดังนั้นการวางแผนข้อนี้จะทำให้ความเสี่ยงในการดำเนินงานของคุณน้อยลงอย่างมากที่สุด

     5. W – Why : ทำไมเค้าต้องมาซื้อหรือใช้บริการของคุณ?
         ทำไมลูกค้าเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ แทนที่จะซื้อจากคู่แข่ง? ทำไมคุณต้องเข้ามาทำธุรกิจทางด้านนี้?


     6. H – How : คุณจะเข้าถึงลูกค้าของคุณได้อย่างไร?
         คุณจะสามารถเข้าถึงลูกค้าคุณได้ด้วยวิธีไหน อย่างไร? ซึ่งคุณควรจะมีการวางแผนและกำหนดวิธีการที่คุณจะสามารถเข้าถึงลูกค้าของคุณได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด



ตัวอย่างการออกแบบ


                                ตัวอย่างการออกแบบ


       ตัวอย่างเช่น โลโก้ของ Disney สื่อถึง ความสนุก และ การมองโลกในแง่ดี โดยตัวอักษรโค้งทำให้ดูสนุก และสอดคล้องกับแบรนด์ที่เป็นการ์ตูนน่ารัก ๆ สำหรับเด็กอีกด้วย ซึ่งถ้าเราเอาโลโก้แบบ Disney ไปใช้กับธุรกิจร้านขายของเท่ ๆ ก็คงไม่เหมาะ
 
     
    ตัวอย่างจากโลโก้ของเว็บไซต์ชื่อดัง Amazon.com จะเห็นว่ามีลูกศรสีส้มชี้จากใต้ตัว A ไปถึงตัว Z เป็นการบ่งบอกว่า “Amazon มีทุกอย่างขาย ตั้งแต่ A ถึง Z” นอกจากนั้นลูกศรสีส้มยังโค้งเหมือนรอยยิ้ม สื่อถึงหน้าของลูกค้าที่จะยิ้มเมื่อได้รับสินค้าที่ถูกใจนั่นเอง


  ตัวอย่างจากโลโก้ของ Apple จะเห็นว่าถ้า Apple เลือกใช้โลโก้ที่ออกแบบในปี 1976 อันซ้ายสุด โลโก้คงตกยุคไปนานแล้วครับ แต่ Apple เลือกใช้อันกลาง ซึ่งมีความเรียบง่าย ทำให้สามารถใช้ต่อมาได้จนถึงทุกวันนี้โดยการเปลี่ยนเป็นสีเรียบเท่านั้นเอง

การออกแบบ

                                        การออกแบบ

                  การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น
สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน
                  ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคื
          1.ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม
   ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง
   แผนการทำงานก็ได้
         2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ
    ตรงกันอย่างชัดเจน  ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ
    ระหว่างกัน
         3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย
   ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น
   หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด
       4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต
    เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง  นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน

หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละคร


กระบวนการเทคโนโลยี


                               กระบวนการเทคโนโลยี

            กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
             1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ (Identify the problem)
             2. รวบรวมข้อมูล (Information gathering)
             3. เลือกวิธีการ (Selection)
             4. ออกแบบและปฏิบัติการ (Design and making)
             5. ทดสอบ (Testing)
             6. ปรับปรุงแก้ไข (Modification and improvement)
             7. ประเมินผล (Assessment)

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
    ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
   การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น

 ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
   การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
   การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ
   การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
   การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น


ขั้นที่ 7 ประเมินผล
   การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ


              ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

       ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์

                   การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีเริ่มจากวิเคราะห์ความต้องการของตน สื่อสารความต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจ และเสนอแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด อ่านและเขียน ลักษณะพฤติกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษาซึ่งเป็นศาสตร์ของมนุษย์ศาสตร์ ดังนี้
                  1. ทักษะการฟัง พูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางเทคโนโลยีกับคนอื่น ๆ ในการทำกิจกรรม
                  2. ทักษะการเขียน นำเสนอข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ หรืออธิบายแนวคิดของตน
                  3. ทักษะการสรุป กิจกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการร่างโครงการและการอธิบายกระบวนการ ทำงานจนได้ชิ้นงาน การเขียนข้อสรุปจึงเป็นสิ่งสำคัญของเทคโนโลยี

         ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์

                 ผู้เรียนต้องเข้าใจประวัติความเป็นมาทั้งอดีตจนถึงปัจจุบันและเทคโนโลยีในอนาคตช่วยสร้างสรรค์มนุษยชาติ จึงต้องให้ผู้เรียนตระหนักถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม โดยกิจกรรมดังนี้
                  1.สำรวจบทบาทเทคโนโลยีต่อสังคม
                  2.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สนองความต้องการได้อย่างฉลาด
                  3.เข้าใจข้อจำกัดของปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม ค่านิยม โครงสร้างสังคม โดยนำสิ่งเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมทางเทคโนโลยี
                 4.วิจัย ศึกษา วิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีในสังคม ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง
                 5.การตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
                 6.วิจัยศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบการใช้เทคโนโลยีต่อสังคม






ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี


                    ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี


       1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
       2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
       3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ

               ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ มีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว  มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMS หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพธ์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจับัน และมีแนวโน้วที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแตการผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (สุนทร แก้วลาย. 2531:166) พอสรุปได้ดังนี้1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ3.การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ4.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก5.ช่วยในการจัระบบอัติโนมัติ เพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใชสารสนเทศ6.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น7.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ



ความหมายของเทคโนโลยี


ความหมายของเทคโนโลยี


               เทคโนโลยี  หมายถึง  การนำความรู้ทาง                               ธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึง                                 วิทยาศาสตร์มาเป็นวิธีการปฏิบัติ                                    และประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำ                               งานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้                                เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่อง                               จักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรม                            เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ                              เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่าย                               และสะดวกยิ่งขึ้น

pisa

http://pisaitems.ipst.ac.th/home?destination=node/1

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ค่านิยม12ประการ


                                ค่านิยม 12 ประการ 



1. มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  • 1.1 เป็นพลเมืองดีของชาติ  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ยืนตรงเคารพธงชาติ  ร้องเพลงชาติและอธิบายความหมายของเพลงชาติได้ถูกต้อง

   1.2 ธำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  เข้าร่วม ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมที่สร้างความสามัคคี ปรองดองที่เป็นประโยชน์ต่อ โรงเรียน ชุมชนและสังคม
   1.3 ศรัทธา ยึดมั่น ปฏิบัติตนตามหลักของศาสนา พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่ตนเองนับถือ (ศาสนาพุทธ) และปฏิบัติตนตามหลักของศาสนาที่ตนนับถือ
  1.4 เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  มีส่วนร่วมหรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์

2. มีความซื่อสัตย์สุจริต
  • 2.1 ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองทั้งทายกาย วาจา ใจ พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงปราศจากความลำเอียง  และปฏิบัติตนโดยคำนึงถึงความถูกต้องละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิดและปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา

   2.2  ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทายกาย วาจา ใจ  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ไม่ถือเอาสิ่งของหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง  ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยความซื่อตรงและไม่หาประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้อง

3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
  • บุญคุณของพ่อแม่นั้นใหญ่หลวงมาก ท่านทั้งสองให้กำเนิดเรามาในโลกอันกว่างใหญ่ เลี้ยงดูเราอย่างดีด้วยความรักและห่วงใย รวมทั้งผู้ปกครอง และคุณครูบาอาจารย์ที่ให้การศึกษาตั้งแต่เล็กจนโต ซึ่งจะทำให้เราเติบใหญ่เป็นคนที่ดีในสังคม ดังนั้น เราควรตอบแทนบุญคุณของทุกท่านโดยประพฤติตัวให้ดี เข่น การเคารพหรืปฏิบัติตามกฎระเบียบที่มีอยู่ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ต่างๆ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล


4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • 4.1 ตั้งใจเพียรพยายามในการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ตั้งใจเรียน  เอาใจใส่และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้  และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ

   4.2 แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน  ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่าง

 5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
  • 5.1 ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี  ศิลปะ  วัฒนธรรมไทยและมีความกตัญญูกตเวที พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น แต่งกายและมีมารยาทงดงามแบบไทย  มีสัมมาคารวะ   กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ 

   5.2 เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น ใช้ภาษาไทยและเลขไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม          

   5.3 อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย  พฤติกรรมบ่งชี้  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  นำภูมิปัญญาไทยมาใช้ให้เหมาะสม

6. มีศีลธรรม รักษาความซื่อสัตย์
  • การที่เราให้โดยไม่หวังผลตอบแทนนั้นเป็นสิ่งที่ประเสริฐ การทำสิ่งต่างๆด้วยความหวังดี ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ที่เราจะได้คือความสุขเล็กๆน้อยๆ แต่เราก็จะได้มิตรสัมพันธ์ที่ดี ศีลธรรมก็เป็นข้อที่เราควรถือไว้ในใจ เช่นศีล๕ และการที่เราสื่อสัตย์ตลอดไม่ว่าจะทำอะไร จะทำให้เราเป็นคนดีในสังคม


7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
  • การเป็นประชาธิปไตยนั้นเป็นระบบการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง โดยที่เรามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุก ซึ่งเราควรเคารพพ่อหลวงเราด้วยใจรัก


8. มีระเบียบวินัย รักษากฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่
  • ทุกวันนี้เรามักจะเห็นผู้คนแตกแยก หรือไม่ให้ความเคารพกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการที่ไม่มีระเบียบในสังคม อย่างแรกต้องเริ่มที่ตัวเราเอง เราควรที่จะมีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย และเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ และสิ่งเหล่านี้จะเป็นต้นแบบให้อีกหลายๆคนเพื่อที่จะทำให้สังคมไทยนั้นเจริญ


9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ
  • 9.1  ตั้งใจและรับผิดชอบ มีสติ คิดรอบคอบ ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน   พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  เอาใจใส่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 

      9.2  ทำงานด้วยความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ทุ่มเททำงาน  อดทน ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน 

10. รู้จักดำรงตนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • 10.1  ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ  มีเหตุผล  รอบคอบ  มีคุณธรรม   พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น  ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น  เงิน  สิ่งของ เครื่องใช้ อย่างประหยัด  

       10.2 มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พฤติกรรมบ่งชี้ เช่น  วางแผนการเรียน การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้ 

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่ายกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจใฝ่ต่ำ
  • การที่มีจิตใจอันแน่วแน่ จะไม่สั่นคลอนใดๆทั้งสิ้นถ้ามีอุปสรรค์หรือกิเลสผ่านเข้ามา ถ้าเราได้ผ่านสิ่งเหล่านี้มาบ่อยครั้ง มันจะทำให้เราเข้มแข็ง เช่น เราไม่ควรดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ถ้ามีคนชักชวน


12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
  • 12.1 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจและพึงพอใจโดยไม่หวังผลตอบแทน  พฤติกรรมบ่งชี้  เช่น  ช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูทำงานด้วยความเต็ม

   12.2 เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม พฤติกรรมที่บ่งชี้  เช่น  ดูแลรักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อมด้วยความเต็ม



ที่มา:   http://khaniyom12.weebly.com/